BCG Economy Model

       ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวช้า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีรายได้น้อย และประเทศไทยยังติดกับดักรายได้ปานกลางมาอย่างยาวนาน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า BCG Economy Model ซึ่งจะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มาก”

       BCG Economy Model จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด กระจายโอกาส กระจายรายได้ และนำความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง นำพาประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง และมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน

       การพัฒนาประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ต้องก้าวข้ามปัญหา อุปสรรคต่างๆ อาทิ ปัญหาทรัพยากรเสื่อมโทรม ขยะล้นเมือง โลกร้อน รวมถึงรายได้เกษตรกรที่ไม่เพิ่มขึ้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งขับเคลื่อน BCG โมเดล รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ที่เร่งให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างทั่วถึง บนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน

       BCG โมเดล สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการเติบโตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใน 20 ปี จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรมากกว่า 3 เท่าตัว และลดการใช้ทรัพยากรเหลือสองในสามจากปัจจุบัน

       BCG โมเดล ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน


       เดิมประเทศไทยมีโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก มีสัดส่วนประชากรในภาคเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก รายงานของสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2013) ระบุว่า แรงงานในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนมากถึง 32.3% ขณะที่ในภาคอุตสาหกรรมมีเพียง 17% และในภาคบริการมี 7% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้ส่วนใหญ่จะมาจากภาคเกษตรกรรม แต่คนทำงานกลับมีรายได้น้อย ทำให้แรงงานรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตรน้อยลง

       แนวโน้มปัจจัยที่จะส่งผลกระทบในอนาคตอันใกล้ ได้แก่ เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นมากมาย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยที่กลายเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว และแรงงานที่เข้าสู่ตลาดลดน้อยลง รัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาจึงพยายามผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มีลักษณะสำคัญคือ (1) เป็นระบบเศรษฐกิจที่เป็นแนวคิดแบบใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี (2) เป็นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาความรู้ การจัดการ และเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยต้องนำจุดเด่นของประเทศคือ ตำแหน่งที่ตั้ง ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงความเข้มแข็งขอบบุคลากรในบางสาขาเช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งในแง่การวิจัยและบริการ และลักษณะสำคัญข้อสุดท้ายคือ (3) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์มากและปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว เช่น การประยุกต์ใช้ข้อมูล Big Data กับการวางแผนจัดการระบบการเกษตรโดยรวมของประเทศ

เศรษฐกิจใหม่ครอบคลุม 6 ด้านสำคัญ โดยมีแนวทางโดยย่อดังนี้

       (1) เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เน้นการนำความรู้ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และต้นทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ประเทศไทยมีอยู่มากมาเป็นตัวขับเคลื่อน

       (2) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ ตลอดวัฏจักรชีวิต และการนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงทางอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม

       (3) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่เน้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเป้าหมายสูงสุด

       (4) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy) เป็นการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาอำนวยความสะดวก ช่วยวางแผน และจัดการระบบต่างๆ ให้ดีขึ้น

       (5) เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ (Sharing Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่อิงกับการให้บริการแบบทางเลือกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้รถยนต์โดยสารและการหาที่พักผ่านแอปพลิเคชัน ที่แแต่ละคนสามารถเลือกใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ ได้อย่างสะดวกและยืดหยุ่นกว่าเดิม

       (6) เศรษฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy) ระบบที่นำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้ ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและความสุข อีกทั้งเทคโนโลยีเหล่านี้ยังใช้ได้กับกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสด้วย

หากประเทศไทยสามารถพัฒนาและปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีตามแนวทางที่กล่าวมา ก็จะทำให้ระบบเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่มีความเข้มแข็งและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พร้อมก้าวเข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างเต็มภาคภูมิ

 

ที่มา: https://www.nstda.or.th/th/nstda-strategy-plan/nstda2/12785-bcg-economy

 

นิทรรศการหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยบูรพา

- คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา : การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ : Engineering IN EEC
- คณะวิทยาการสารสนเทศ : วิทยาศาสตร์ในโลก VR
- สำนักบริการวิชาการ : ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
- โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วมว.) : โอ้โห SCiUS

นิทรรศการหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยบูรพา

- สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ : OAP (สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ)
- ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี : ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี
- สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่2 (ชลบุรี) : ขยะทะเล
- บริษัท สเปซเมด จำกัด : เปิดโลกกว้างกับกล้องจุลทรรศน์
- บริษัท เอนซมาร์ท ไบโอเทค จำกัด : Smart science smart solution
- สถาบันพัฒนาความรู้และทักษะวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา Top Science สาขาชลบุรี : “จุดประกายความคิด การเป็นนักวิทยาศาสตร์น้อย”
- บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี เซอร์วิส จำกัด : Thaioil group
- ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคตะวันออก+คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ : Steam drone & coding

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย


       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทยผู้ยิ่งใหญ่ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเซอร์ แอร์รี่ ออร์ด เจ้าเมืองสิงคโปร์ คณะทูตานุทูต นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส แขกต่างประเทศอื่นที่ทรงเชิญมา และข้าราชบริพารไทย ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้ทุกประการ พระอัจฉริยภาพของพระองค์เป็นที่เลื่องลือ ขจรขจายปวงชนชาวไทยถวายพระราชสมัญญานามทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" และเป็นที่มาของการสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอนุสรณ์สถานแด่พระองค์

       จากคัมภีร์พุทธศาสนาเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ส่งอิทธิพลสำคัญต่อความคิดความเชื่อ ของผู้คนชาวไทย เรื่องภาพแห่งจักรวาล คือ ภพทั้ง 3 แห่ง สวรรค์ มนุษย์ และบาดาล แต่สำหรับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพแห่งจักรวาลคือวิชาการดาราศาสตร์ยุคใหม่ของการศึกษาถึงความเป็นไปในเอกภพ ด้วยข้อมูลความจริงด้วยความคิดและเหตุผลโดยการศึกษาอย่างเป็นระบบระเบียบ ตามหลักการของวิทยาศาสตร์แผ่นดินในรัชสมัยของพระองค์จึงเป็นประตูสู่โลกยุค ใหม่ การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ ถือเป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่และครั้งแรกของชาติไทย โดยพระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้คำนวณด้วยพระองค์เองต่อหน้าคณะนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และแขกเมืองชาวต่างประเทศ ถือเป็นการเสี่ยงต่อการสูญเสียพระเกียรติยศอย่างยิ่ง แต่พระองค์ก็ทรงกระทำการคำนวณได้ถูกต้องแม่นยำสมศักดิ์ศรีที่ชาวไทยคำนวณ สุริยุปราคาได้แม่นยำมานานนัก ดังเช่นพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทางด้านวิทยาศาสตร์ บริเวณโดยรอบจะแสดงเครื่องใช้ของพระองค์ ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งของที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน ได้นำมาตั้งแสดงให้พสกนิกรได้ชมอย่างใกล้ชิด

        ในปัจจุบันนี้ ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษาด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยการกล่าวถึงสุริยุปราคาเต็ม ดวงเมื่อปี ค.ศ. 1868 ว่าเป็น "King of Siam's Eclipse"

 


   หนังสือ ดาราศาสตร์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงใช้ศึกษาวิชาดาราศาสตร์ด้วยพระองค์เอง (จากสำนักราชเลขาธิการ ในพระบรมมหาราชวัง)


        ดาวหางโดนาติและดาวหางเทบบุต (ภาพวาดโดยนายสุชาติ เขียวลายเลิศ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน)


        สุริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411


        พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายร่วมกับคณะชาวต่างประเทศ หน้าพลับพลาที่ประทับค่ายหลวง ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม 2411

 


 

อ้างอิง :
- http://thaiastro.nectec.or.th/library/kingmongkut_bicentennial/kingmongkut_bicentennial.html
- http://th.wikipedia.org/wiki/

 

ภาควิชาคณิตศาสตร์ (ห้อง CL 203) : นิทรรศการภาควิชาคณิตศาสตร์
กิจกรรมย่อยที่ 1 :

ภาควิชาเคมี (ห้อง CL 302) : เด็กเคมีพลังกิฟท์
กิจกรรมย่อยที่ 1 :
กิจกรรมย่อยที่ 2 :
กิจกรรมย่อยที่ 3 :
กิจกรรมย่อยที่ 4 :

ภาควิชาจุลชีววิทยา (ห้อง CL 402) : ท่องโลกจุลินทรีย์
กิจกรรมย่อยที่ 1 :
กิจกรรมย่อยที่ 2 :
กิจกรรมย่อยที่ 3 :

ภาควิชาชีวเคมี (ห้อง CL 301) : BC in your area
กิจกรรมย่อยที่ 1 :
กิจกรรมย่อยที่ 2 :
กิจกรรมย่อยที่ 3 :
กิจกรรมย่อยที่ 4 :

ภาควิชาชีววิทยา (BS-ชั้น 1 ฝั่งภาควิชาชีววิทยา): ย้อนรอยข้าวในจาน

ภาควิชาฟิสิกส์ (ห้อง CL 305, 306) : นิทรรศการฟิสิกส์กับนวัตกรรมแสนสนุก
กิจกรรมย่อยที่ 1 :
กิจกรรมย่อยที่ 2 :

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (ห้อง CL 403) : BIOTECH Fermented Products
กิจกรรมย่อยที่ 1 :
กิจกรรมย่อยที่ 2 :
กิจกรรมย่อยที่ 3 :

ภาควิชาวาริชศาสตร์ (BS-ชั้น 1 ฝั่งภาควิชาวาริชศาสตร์) : วิกฤติทะเลไทยในวันที่ไร้ปะการัง
กิจกรรมย่อยที่ 1 :
กิจกรรมย่อยที่ 2 :
กิจกรรมย่อยที่ 3 :

ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร (FE 102) : พัฒนาชีวิตด้วยวิทย์การอาหาร
กิจกรรมย่อยที่ 1 :
กิจกรรมย่อยที่ 2 :

โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วมว.) (ห้อง CL 401) : โอ้โห SCiUS

พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย

        คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เห็นชอบให้ดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทยเนื่อง ในวโรกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถ ด้านนวัตกรรมจากโครงการแกล้งดิน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยว ให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ และกำหนดในวันที่ ๕ ตุลาคม ของทุกปีเป็น วันนวัตกรรมแห่งชาติเนื่อง จากในวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรการดำเนินงาน โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดินอย่างเป็นทางการ

        จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แกล้งดิน ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นวิธีการแก้ไขพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากมีกรดกำมะถันอันเป็นสาเหตุของดินเปรี้ยวอยู่เป็นจำนวนมาก การแก้ไขดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริโดยใช้กรรมวิธีแกล้งดิน คือ การทำดินให้เปรี้ยวด้วยการทำดินให้แห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยา ทางเคมีของดินให้มีความเป็นกรดจัดมากขึ้นจนถึงขั้นที่สุด จากนั้นจึงมีการทดลองปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีต่าง ๆ กัน เช่น โดยการควบคุมระบบน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน การใช้วัสดุปูนผสมประมาณ ๑-๔ ตันต่อไร่ การใช้น้ำชะล้างจนถึงการเลือกใช้พืชที่จะเพาะปลูกในบริเวณนั้น การแกล้งดินตามแนวพระราชดำริ สามารถทำให้พื้นดินที่เปล่าประโยชน์และไม่สามารถทำอะไรได้กลับฟื้นคืนสภาพ ที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่ง

        “โครงการแกล้งดิน เป็น โครงการที่มีนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในประเทศ เขตร้อน ยังไม่มีที่ใดในโลกที่ใช้วอีการดำเนินงานในลักษณะดังกล่าว และมีการนำมาทำเป็นตำราเผยแพร่ จึงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวที่ทรงเป็นนวัตกรอย่าง แท้จริง ซึ่งแนวพระราชดำริดังกล่าวเน้นให้เห็นถึงการประสมประสานรวัตกรรมด้าน เทคโนโลยีควบคู่กับนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ จนได้วิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขดินเปรี้ยวได้

        ด้วยพระปรีชาสามารถทาง ด้านนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความตั้งพระราชหฤทัยที่จะยกระดับความเป็นอยู่ ของพสกนิกรชาวไทยนั้น เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติคุณทั่วทิศานุทิศ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวที่ได้บำเพ็ญพระราชกรณียกิจ มากหลายซึ่งเป็นคุณประโยชน์ใหญ่หลวงต่อ ชาวไทยและชาวโลก และเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเทิดพระเกีรยติพระองค์เป็นพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทยเพื่อ สดุดีพระเกียรติคุณให้สถิตสถาพร อีกทั้งเพื่อเป็นเกียรติ และสิริอันสูงยิ่งแก่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และวงการนวัตกรรมไทยสืบต่อไป

 


อ้างอิง :
- http://www.เรารักพระเจ้าอยู่หัว.com/content/index.php?page=category&type=view&cat=61
- http://www.เรารักพระเจ้าอยู่หัว.com/th/blog/page/29/โครงการแกล้งดิน

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

169 ถ.ลงหาดลางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
Phone: (038) 103011
Email: scibuu.pr@gmail.com

สอบถามเพิ่มเติม

>> ฝ่ายการประกวด/ แข่งขัน 
    0-3810-3157 กด 1
>> ฝ่ายประชาสัมพันธ์
    0-3810-3010
>> ฝ่ายประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
    0-3810-2222 ต่อ 7549 
>> Email: sciday.buu@gmail.com

Line@

เพิ่มเพื่อน

Facebook Like